M.A. COMMUNICATION ARTS FOR ASEAN

The Master in Communication Arts for ASEAN is a fully online-based 36 credit two-years program.

Online distance classes to deliver convenient lectures to your computer, tablet or mobile device. This is one of the great advantages of distance learning; you can read and work through specially designed study materials at your own pace, and at a time and place that suits you best.

Join our interactive online learning experience and become expert intercultural communications.

           


นักต่อสู้เพื่อเสียงเด็กอาเซียน

 

ในปีนี้ที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน อีกประเด็นที่ถือว่าเป็นหน้าเป็นตาและเป็นผลงานของประเทศไทยในเวทีอาเซียน คือเรื่องสื่อเด็กและเยาวชน จากโครงการ "ศูนย์ข่าวเด็กและเยาวชนอาเซียน" ASEAN Children and Youth News center ต้นแบบใน 10 ประเทศ โดยฝีมือการคิดและดำเนินการของ รัชพล สุวรรณโชติ หรือพี่วี ของเด็กๆ ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก รางวัลเอมมี่ อวอร์ค ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดในวงการโทรทัศน์ระดับโลก และเป็นผู้ก่อตั้งโครงการศูนย์ข่าวเยาวชนไทย สอนเด็กในกว่า 60 จังหวัดทั่วประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 จนพัฒนาสู่การเป็นต้นแบบให้กับ 10 ประเทศอาเซียนตั้งแต่ ปี 2557 ถึงปัจจุบัน

                                                            ทำไมอาเซียนต้องมีสื่อเด็กเยาวชน

รัชพล: เพราะอาเซียนต้องการเชื่อมการเรีนนรู้ระหว่างประชาชมใน 10 ประเทศ จึงมีนโยบาย ASEAN Connectivity เพื่อเชื่อมโยงผู้คนในภูมิภาคเข้าด้วยกัน พอเรามีโครงการศูนย์ข่าวเยาวชนไทยที่ใช้สื่อเพื่อเชื่อมโยงเด็กเยาวชนทั่วประเทศ อาเซียนเลยสนใจ เมื่อเสนอผ่านตัวแทนประเทศไทยให้จัดตั้งเป็นโครงการศูนย์ข่าวเด็กและเยาวชนอาเซียน จึงได้รับการตอบรับจากทั้ง 10 ประเทศ เพราะเห็นพ้องต้องกันว่า เด็กเยาวชนเป็นผู้ที่ใช้สื่อมากที่สุดโดยเฉพาะสื่อโซเซียล ดังนั้นหากเรานำสื่อโซเซียลมาประยุกต์เพิ่มกระบวนการเรียนรู้ ก็จะเกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวเด็กเยาวชนเอง และทั้งอาเซียนในการเชื่อมโยงกันในปัจจุบันและอนาคต เพราะเด็ก ๆ จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอาเซียนต่อไป ถ้าพวกเขาได้เรียนรู้อาเซียน ได้รู้จักกัน อนาคตเขาก็จะเติบโตมาแบบกัลยาณมิตร เป็นเครือข่ายเพื่อนที่จับมือกันพาอาเซียนก้าวไกลและยั่งยืน

กระบวนการทำงานกับสื่อเด็กเยาวชนใน10ประเทศอาเซียน

รัชพล: ผมโชคดีเพราะทำโครงการศูนย์ข่าวเยาวชนไทยมาตั้งแต่ปี 2542 นี่ก็ 20 ปีแล้ว ผมได้รับเชิญให้ร่วมโครงการเกี่ยวกับสื่อ เด็กเยาวชน เดินทางไปมาแล้วกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ได้เข้าร่วมการประชุมที่สหประชาชาติ สำนักงานใหญ่นิวยอร์คหลายครั้ง ทำให้มีเครือข่ายการทำงานด้านสื่อเด็กเยาวชนทั่วโลก ในระดับอาเซียนก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเวทีเกี่ยวกับเด็กเยาวชนหลายครั้งในหลายประเทศ ทำให้มีเพื่อนๆที่ทำงานด้านสื่อ ด้านเด็กเยาวชนใน 10 ประเทศอาเซียน พอรู้ว่าเราจะทำโครงการนี้ เพื่อนๆทุกประเทศก็เต็มใจให้ความร่วมมือ เรามีเพื่อนทั้งที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของประเทศนั้นๆ สื่อใหญ่ๆในแต่ละประเทศ และสถาบันการศึกษาชั้นนำ การมีเพื่อนจึงเป็นเรื่องสำคัญ เรียกได้ว่าโครงการนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะใช้เครือข่ายเพื่อน ๆ ในอาเซียนช่วยๆกัน เพราะมองตรงกันว่าจะเกิดประโยชน์ต่อเด็กเยาวชนของเราทั้ง 10 ประเทศ

เมื่อมีเพื่อน มีเครือข่าย เราก็ได้รับความร่วมมือในการประสานกับโรงเรียน มหาวิทยาลัยที่จะเข้าร่วมโครงการจากทั้ง 10 ประเทศ ผมก็จะจัดทำหลักสูตรซึ่งเป็นหลักสูตรที่พัฒนาจากโครงการศูนย์ข่าวเยาวชนไทยที่เราสอนในประเทศไทย 20 ปี ยกระดับเป็นสากลมากขึ้น แล้วเดินทางไปสอน ไปจัดอบรมให้กับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยใน 10 ประเทศอาเซียน หลังจากสอนแล้วเราก็จะให้โจทย์ เป็นหัวข้อข่าว ซึ่งแต่ละปีก็จะแตกต่างกันไป ตามความต้องการที่จะเห็นบทบาทของเด็กเยาวชนต่อการพัฒนาอาเซียน เช่น ปีที่แล้วเป็นเรื่องการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอาเซียน ซึ่งตรงกับในหลวง รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานไว้ และตรงกันแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ส่วนปีนี้เราใช้แนวคิดจากการที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน คือ ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน โดยให้เด็กๆ คิดหัวข้อข่าวว่าอยากเห็นอาเซียน 10 ประเทศร่วมมือร่วมใจกันอย่างไรเพื่อพัฒนาเด็ก ๆ ทั้งอาเซียนให้ก้าวไกลและยั่งยืน เป็นการท้าทายให้เด็ก ๆ ได้คิด วิเคราะห์และนำเสนอแนวคิดในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาอาเซียนจากระดับเด็กเยาวชนถึงระดับผู้นำอาเซียน

ผลงานเด่น ๆ ของศูนย์ข่าวเด็กและเยาวชนอาเซียนที่ผ่านมา

รัชพล: ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่ทำให้รัฐบาลไทย ทำโครงการจัดนิทรรศการและสื่อสารคดีเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทำเนียบรัฐบาล นอกจากเราจะให้เด็กๆไทย 88 โรงเรียนทั่วประเทศทำข่าวสารคดีเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว เราจะให้เครือข่ายนักข่าวเด็กอาเซียนอีก 3 ประเทศร่วมทำข่าวว่าเขามองเห็นหรือรับรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยอย่างไร โดยมีนักข่าวเด็กจากประเทศเมียนมาร์ ประเทศที่เคยมีสถาบันพระมหากษัตริย์แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว ประเทศสิงคโปร์ ประเทศที่ไม่เคยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ และประเทศกัมพูชา ประเทศที่ยังคงมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งนักข่าวเด็กอาเซียนก็หาข้อมูลและรายงานข่าวออกมาได้น่าประทับใจ ท่านนายกรัฐมนตรี ประยุทธ จันทรโอชา และภรรยา ยังชื่นชมและมอบโล่ให้กับนักข่าวเด็กอาเซียนจาก 3 ประเทศด้วย

อันนี้ก็เป็นตัวอย่างการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้บริบททางการเมืองของแต่ละประเทศ หากเด็ก ๆ ได้หาข้อมูล เข้าใจการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศที่แม้จะแตกต่างกัน แต่เราก็สามารถอยู่ร่วมกันเป็นประชาคมอาเซียนที่สงบสุขและพัฒนาไปพร้อมๆกันได้อย่างเข้าใจซึ่งกันและกัน อันนี้สำคัญครับ

สร้างผลงานให้ประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียน

รัชพล: ในระดับประเทศ เราโชคดีที่หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่งให้การสนับสนุนโครงการตั้งแต่ทำโครงการศูนย์ข่าวเยาวชนไทย มาถึงศูนย์ข่าวเด็กและเยาวชนอาเซียน เช่นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นต้น ซึ่งปลายปีนี้ ไทยในฐานะประธานอาเซียนจะมีการจัดงานใหญ่อีกครั้ง ทางเครือข่ายที่ทำงานด้านการพัฒนาสื่อเด็กเยาวชนมาด้วยกันกว่า 20 ปีกำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยเพื่อจะจัดงานใหญ่ เป็นการระดมทีมนักข่าวเด็กเยาวชนทั้ง 10 ประเทศมาที่ประเทศไทย จัดงานแสดงผลงาน เสวนาทางวิชาการ เพื่อขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสื่อเด็กเยาวชนให้เป็นเครือข่าย และเกิดผลสัมฤทธิ์ที่จะเป็นการส่งต่อการนำสื่อไปใช้ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนทั้ง 10 ประเทศอาเซียนได้อย่างจริงและยั่งยืนต่อไป และเป็นการแสดงพลังเสียงของเด็กเยาวชน ส่งเสียงดังดังเพื่อให้ผู้นำทั้ง 10 ประเทศได้ยิน และสามารถนำไปปรับใช้ในการทำนโยบายพัฒนาประเทศที่จะสอดรับกับการพัฒนาเด็กเยาวชนผู้ที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาอาเซียนสืบต่อไปให้ก้าวไกลและยั่งยืน ดั่งคำขวัญของการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทย "ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน"

NEWS & ACTIVITIES


SUKHOTHAI THAMMATHIRAT OPEN UNIVERSITY 
Chaengwattana Rd, Muang Thong Thani, Bangpood Pakkret, Nonthaburi 11120 Thailand
Email: kamolratchim@gmail.com
Phone: +66 (0) 2504 8392
Fax: +66 (0) 2503 3579
Mobile: +66 (0) 86 529 9551
Facebook: @aseancommarts
Line official account : @bjy8501s
youtube : asean commarts